Bolttech Insurance Broker
LinePhone

ขับรถขึ้นลงเขาใช้เกียร์อะไร S, L, D หรือ D3

อ่านเร็วๆ

  • ขับรถยนต์เกียร์ออโต้ขึ้นเขาใช้เกียร์ D เพื่อทดเกียร์ให้อัตโนมัติและสังเกตรอบของเครื่องยนต์ (อยู่ถัดจากหน้าปัดแสดงความเร็ว) ถ้าความเร็วรอบของเครื่องยนต์เกิน 4500 รอบต่อนาที รถยนต์จะเริ่มเร่งเครื่องยนต์ไม่ขึ้น
  • ถ้าเร่งเครื่องไม่ขึ้น ให้ปรับมาใช้เกียร์ D3 หรือ S และกลับมาใช้งานเกียร์ D เมื่อวิ่งทางราบ
  • ขับรถยนต์เกียร์ออโต้ลงเขาสำคัญที่การใช้เบรก ไม่ควรเหยีบเบรกแช่ เพราะเบรกอาจจะไหม้ ควรเหยียบเป็นระยะและเหยียบให้ลึก
  • ขับรถลงเขาใช้เกียร์ D ไว้ก่อนได้ ส่วน D2 หรือ L ใช้เมื่อลงเขาที่มีความลาดชันและระยะทางไกลมาก
  • ถ้าขับรถลงเขาแล้วได้กลิ่นผ้าเบรกไหม้ ให้แวะจอดในที่ที่ปลอดภัยเพื่อรอให้เครื่องเย็นก่อน ค่อยขับต่อ
  • ห้ามใช้เกียร์ N ลงเขาโดยเด็ดขาด เพราะจะไม่สามารถควบคุมความเร็วของเบรกหรือทิศทางของรถได้เลย ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก

สำหรับ Frank แล้ว เรื่องเที่ยวขอให้บอกครับ โดยเฉพาะ การขับรถเที่ยว เป็นอีกกิจกรรมที่ Frank ชอบและแนะนำเลยครับ ยิ่งช่วงใกล้ปลายปี หลายคนคงเตรียมลาพักร้อนกันแล้วใช่ไหมล่ะ Frank เองก็มีที่หมายตาไว้แล้วครับ ยิ่งใกล้สิ้นปี อากาศหนาว ภูเขาเป็นที่หมายเลยครับ แต่ข่าวเกี่ยวกับรถตกเขาก็เป็นอุบัติเหตุที่เราได้ยินกันบ่อย Frank เป็นห่วงเพื่อนๆ นะครับ เลยอยากมาเล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ฟังเป็นตัวอย่าง ว่าตอนที่เราไปเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเนี่ย ทำไงให้เราเอาตัวรอดมาได้

ประสบการณ์ขับทางชันครั้งแรกของ Frank

เมื่อตอนขับรถเป็นใหม่ๆ Frank ก็อยากขับรถเที่ยวเพื่อแสวงหาแรงบันดาลใจตามป่าตามดอยชิลๆ บ้าง ไม่รู้ทางก็เปิด Google map เอา ปรากฎว่า Google เลือกเส้นทางที่เร็วที่สุดให้ครับ แต่...มันคือทางหลวงชนบทที่มีแต่ป่ารก ๆ ไปตลอดทางและมันเป็นทางขึ้น-ลงเขาที่ชันมากที่สุดที่เคยเจอเลยครับ รถชาวบ้านก็ไม่มีมาให้อุ่นใจเลยมี Frank เดินทางกลางป่าอยู่คนเดียว เหงาและหลอนทีเดียวครับ
ตอนนั้นสิ่งเดียวที่กลัว คือกลัวรถเป็นอะไรไปแล้วออกจากป่าไม่ได้ครับ เลยต้องตั้งสติให้มั่นจัดเกียร์ D ขึ้นเขาที่ชันเกือบ 45 องศาไปแบบเอื่อย ๆ เอื่อยแบบที่ถ้าลงเดินคงถึงไวกว่าอีกครับ ขาขึ้นยังนึกขำ ๆ ว่า เออดีนะ รู้แต่ทฤษฎีเทคนิคการใช้เกียร์ออโต้ขึ้นเขาเพิ่งได้เอามาใช้จริง ระหว่างขึ้นไปก็มองวิวมองป่าไปเพลินดีฮะ วิวภูเขาระหว่างทางสวยมาก ธรรมชาติสุด ๆ แต่ ณ จุดนั้นไม่มีอารมณ์ชิลล์ละครับ ลุ้นมากกว่า กลัวจะตกเขา
q_start

ห้ามใช้เกียร์ N ลงเขาโดยเด็ดขาด

q_end
ถ้าขาขึ้นว่าท้าทายแล้ว ขาลงนี่คือไฮไลท์เลยครับ มันสุดยอดมากเหมือนขับรถเล่นเกมส์เลยฮะ แต่..มันคือชีวิตจริงครับ! หักโค้งแบบหักศอกเพียบตลอดทาง ทางลงชันกว่า 45 องศาเกือบ 3 ชั่วโมง (เป็นทางหลางชนบท 2 เลนส์แคบๆ พอให้ขับสวนกันได้ครับ) งานนี้ไม่มีเวลามาคิดเปลี่ยนเกียร์กันล่ะครับ จัด D ยาวตลอดทาง แค่จับพวงมาลัยเพื่อหักโค้งให้ทันก็จะแย่แล้วครับ หายง่วงเป็นปลิดทิ้ง ในตอนนั้นคิดอย่างเดียวเลยว่าดีนะที่เราต่อประกันรถยนต์ไว้ก่อนเดินทาง เกิดเป็นไรขึ้นมาก็ยังมีตัวช่วยล่ะ แต่จะระวังเรื่องการใช้เบรกอย่างสุดชีวิต (นั่นคือสิ่งเดียวที่ช่วยรักษาชีวิตเราเลยครับ)
พอลงมาได้ จอดรถเลยครับขาแข้งสั่นไปหมด รีบโทรหาที่บ้านก่อนเลยว่าเราคิดถึงพวกเค้ามากนะ เราจะซื้อของไปฝากเยอะ ๆ เลย ที่บ้านก็งงซิครับว่าเราเป็นอะไรหรือเปล่า? ไม่กล้าบอกเลยครับว่าเพิ่งผ่านเหตุการณ์เฉียดตายมาหมาดๆ Frank เลยอยากสรุปให้เพื่อนๆ เตรียมตัวก่อนขับรถเที่ยวนะครับ

ขับรถเที่ยวจะสนุกหรือไม่ นอกจากเพื่อนร่วมทางที่ไปด้วยกันแล้ว ความพร้อมของรถยนต์ การป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุด้วยการต่อประกันรถยนต์ให้พร้อมก็เป็นอีกตัวช่วยที่สำคัญไม่แพ้กัน

สิ่งที่สำคัญของการขับรถเที่ยวขึ้น-ลงเขา   

นอกจากความชำนาญของเส้นทางที่เราจะขับแล้ว Frank อยากแนะนำเรื่องของการใช้ความเร็วของรถยนต์ การใช้เบรก และการกะระยะห่างจากรถคันหน้าด้วยครับ

การใช้ความเร็ว

ควรขับให้ช้ากว่าปกติ เพราะยิ่งช้าเรายิ่งควบคุมรถได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะทางโค้งลงเขาและถ้าเราไม่ชำนาญเส้นทางด้วยแล้วขับให้ช้าลงและชิดซ้ายไว้เลยครับ เผื่อรถคันอื่นที่รีบเดินทางจะได้แซงเราไปได้

การใช้เบรก

ตอนขึ้นเขานั้นเราไปเน้นที่การเร่งเครื่องยนต์ให้รถมีกำลังมากพอและรอบของเครื่องยนต์เป็นหลัก ส่วนตอนลงเขา “เบรก” สำคัญที่สุดเลยครับ การใช้เบรกที่ถูกต้องนั้นห้ามเหยียบเบรกค้างนานๆ ให้เราเหยียบเบรกให้ลึกแล้วปล่อยเป็นจังหวะไปตลอดทางเพื่อหลีกเลี่ยงการไหม้ของผ้าเบรกนะครับ
แต่ถ้าเริ่มได้กลิ่นไหม้แล้วล่ะก็ หาที่จอดรถที่ปลอดภัยและจอดพักรถให้น้ำมันเบรกเย็นลงก่อนค่อยขับรถเที่ยวกันต่อไปครับ

เว้นระยะปลอดภัย

อย่าไปขับจี้รถคันหน้ามากนัก เว้นระยะให้ห่างจากปกติไปเลยครับ เพราะนอกจากทำให้เรามองเห็นทางในระยะไกลแล้ว ยังเผื่อระยะให้เบรกทำงานได้มากขึ้นตอนที่ลงเขาที่ลาดชันเพื่อป้องกันอุบัติเหตุชนท้ายด้วยนะครับ 
ขับรถเที่ยวขึ้น-ลงเขาใช้เกียร์อะไรดีระหว่าง S, L, D หรือ D3?
ประกันเดินทางในประเทศ

การใช้เกียร์ออโต้ระหว่างขับรถขึ้น-ลงเขา

ขับรถขึ้นเขา

เรามาเริ่มการขับรถเที่ยวขึ้นเขาโดยการใช้เกียร์ D ตามปกติไปก่อนเลยครับ แล้วให้เราสังเกตรอบของเครื่องยนต์ซะหน่อยไม่ให้เกิน 4500 รอบต่อนาทีเพื่อป้องกันเครื่องยนต์พังอ่ะนะครับ
ถ้าเกียร์ D แล้วเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้นหรือรอบของเครื่องยนต์แตะ 4500 แล้วให้เราปรับมาใช้เกียร์ D3 หรือ S เพื่อให้เครื่องยนต์เร่งขึ้นก่อนแล้วค่อยปรับมาใช้ D เมื่อถึงทางลาดนะครับ

ขับรถลงเขา

ขาลงนั้นก็ไม่ยากครับ เริ่มต้นด้วยด้วยเกียร์ D เหมือนกันเลยฮะ (ไม่ว่าจะเจออะไร จัด D ไว้ก่อน) ถ้าไปเจอทางลงเขาที่ชันมาก ๆ เราปรับเป็น L หรือ D2 เพื่อให้เวลาขับรถลงเขามันจะหน่วงให้เราลงได้ช้าลงเพิ่มความปลอดภัยให้เรามากขึ้น

ที่สำคัญในการขับรถลงเขาคือ “เบรก” ฮะ อย่าไปกดแช่ ลากยาว ๆ เบรกจะไหม้เอาได้ ให้เราเหยียบให้ลึกในแต่ละครั้งเพื่อให้เบรกอยู่และค่อย ๆ เหยียบไปตามระยะจะดีกว่าครับ

การขับรถเที่ยวจะสนุกหรือไม่ นอกจากเพื่อนร่วมทางที่ไปด้วยกันแล้ว ความพร้อมของรถยนต์ การป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุด้วยการต่อประกันรถยนต์ให้พร้อมก็เป็นอีกตัวช่วยที่สำคัญไม่แพ้กันนะฮะ เพราะตลอดการเดินทางเราต้องใช้ถนนร่วมกับคนอื่นๆ และไม่มีใครรู้ล่วงหน้าหรอกฮะว่าอุบัติเหตุมันจะเกิดขึ้นตอนไหน โดยเฉพาะการขับขี่ที่ขึ้นลงเขาแบบนี้เรามีโอกาสพลาดขับไปชนต้นไม้ หรือขับตกข้างทางได้ ซึ่งการชนแบบไม่มีคู่กรณีแบบนี้ มีแต่ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองนะครับ  สุดท้ายนี้ของให้ทุกท่านขับขี่ปลอดภัยไว้ก่อนนะคร้าบ...บ 
เพื่อนๆ ไปเที่ยวที่ไหนกันมา อวดรูปไปเที่ยวให้ frank ดูด้วยคนนะครับ อยากมีส่วนร่วมไปด้วยอ่ะฮะ

Frank Box

  • อุบัติเหตุบนท้องถนน 80% เกิดจากพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ถูกต้อง
  • 11.9% คือ จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการแซงซ้าย ซึงพรบ.จราจรฯ ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงหน้ารถคันอื่นด้านซ้าย
  • ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ บอกว่าสาเหตุในการเกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์เป็นอันดับแรก ขับรถเร็วเกินกำหนดรองลงมา และขับตัดหน้ากระชั้นชิดคืออันดับที่ 3

credit: car.boxzaracing.comautodeft.com, pantip.com

frank.co.th

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.