Bolttech Insurance Broker
LinePhone

6 เรื่องที่คนทั่วไปมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ

การใช้โทรศัพท์มือถือที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร? สื่อหลายแห่งได้พยายามเปิดเผยข้อมูล ข่าว หรือบทความ ที่เกี่ยวกับอันตรายหรือข้อห้ามจากการใช้โทรศัพท์ต่าง ๆ มากมาย บ้างก็ว่าต้องใช้โทรศัพท์มือถือแบบนี้ถึงจะถูกวิธี บ้างก็ว่าพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์แบบนั้นผิดทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งข้อมูลและความเชื่อเหล่านี้ในสื่อโซเชียลต่างปะปนกันวุ่นวาย ทำให้ผู้ใช้งานโทศัพท์อย่างพวกเรางงกันไปหมด ไม่รู้ว่าเรื่องไหนจริงเรื่องไหนเท็จ ซึ่งในวันนี้ Frank ได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งน่าเชื่อถือมาสรุปให้ทุกคนได้เข้าใจกันใหม่ดังนี้ครับ

ใช้โทรศัพท์มือถือตอนฝนตกจะถูกฟ้าผ่า

โทรตอนฝนตก
หากใครเชื่อแบบนี้แสดงว่าคุณนั้นเข้าใจผิดครับ แม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่ก็มีประจุไฟฟ้าไม่มากเพียงพอต่อการเป็นสื่อล่อฟ้าได้ หรือแม้แต่สัญญาณโทรศัพท์เองก็ไม่สามารถทำให้ประจุไฟฟ้าในอากาศแตกตัวจนเป็นสื่อให้ฟ้าผ่าได้เช่นกัน ทั้งนี้แม้ว่าปรากฏการณ์ฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นปีละหลายพันครั้ง แต่มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่มนุษย์จะโดนฟ้าผ่าโดยตรง และหากคุณใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ในตัวเมืองแล้วแทบจะไม่มีทางถูกฟ้าผ่าได้เลย เพราะตึกหรืออาคารต่าง ๆ จะเป็นจุดล่อสายฟ้าให้เรานั่นเอง ดังนั้นหากมีคนมาบอกคุณว่าอย่าใช้โทรศัพท์มือถือตอนฝนตกเพราะจะโดนฟ้าผ่านั้น ให้แย้งกลับไปเลยครับว่าไม่เป็นความจริง แต่ Frank ก็แนะนำว่าอย่าใช้โทรศัพท์ขณะเดินตากฝนนะครับ เพราะน้ำอาจเข้าโทรศัพท์ทำให้เครื่องช็อตได้เช่นกัน หรือถ้าใครอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันฟ้าผ่าก็สามารถอ่านบทความจาก Frank ได้นะครับ

เสียบสายชาร์จทั้งคืนทำให้แบตเสื่อม

ชาร์จโทรศัพท์
มีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ นั่นคือหากชาร์ตแบตโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ทั้งคืนจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพไวขึ้น ซึ่งความเชื่อนี้เป็นเรื่องที่ผิด ๆ ที่หลายคนเข้าใจมาเป็นเวลานาน เพราะไม่เคยมีหลักฐานที่พิสูจน์ว่าทำให้แบตเสื่อมได้จริง นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือยุคปัจจุบันเป็นแบตเตอรี่ลิเธียม (Lithium) ซึ่งตัวแบตจะตัดไฟเองโดยอัติโนมัติเมื่อชาร์ตเต็มแล้ว ดังนั้นถ้าคุณมีเหตุจำเป็นที่จะต้องชาร์จแบตไว้ทั้งคืนก็สามารถทำได้เลยครับไม่ต้องกังวลว่าแบตจะเสื่อม

ถ้าแบตยังไม่ใกล้หมดห้ามชาร์จโทรศัพท์

ชาร์จแบต
มีความเชื่อผิด ๆ ที่บอกต่อกันมาว่าหากเราชาร์จแบตขณะยังมีพลังงานอยู่เยอะประมาณ 50 - 90 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้แบตเสื่อมไว ซึ่งความจริงก็คือคุณสามารถชาร์ตแบตตอนไหนก็ได้ครับ ไม่ได้ทำให้แบตเสื่อมแต่อย่างใด ด้วยคุณสมบัติของแบตเตอรี่ลิเธียมตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้าจะทำให้ระบบการชาร์จเป็นแบบไซเคิล (Cycle) ซึ่งอายุการใช้งานของแบตมือถือจะมีหลายพันไซเคิล การชาร์ตแบตแต่ละครั้งตั้งแต่ แบต 0% จนถึง 100% จะนับเป็น 1 ไซเคิล หากเริ่มชาร์จแบตตอน 50 % จะถูกนับเป็น 1/2 ไซเคิลนั่นเองครับ เพระฉะนั้นเราสามารถชาร์จแบตตอนไหนก็ได้ไม่ต้องกลัวว่าแบตจะเสื่อม

ใช้โทรศัพท์ขณะชาร์จแบตจะทำให้ระเบิด

เล่นโทรศัพท์
เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือ เพราะจริง ๆ แล้ว เราสามารถใช้โทรศัพท์ขณะชาร์จมือถือได้ ไม่ได้ทำให้เครื่องช็อตหรือระเบิดอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในกรณีที่โทรศัพท์ของคุณใช้แบตของแท้และได้มาตรฐาน แบตจะไม่มีทางระเบิดขณะชาร์จแน่นอนครับ แม้ว่าตอนที่ชาร์จแบตตัวเครื่องอาจจะร้อนไปบ้างซึ่งคุณก็แก้ปัญหาได้ง่าย ๆ เพียงต่อสมอลทอร์ค หรือเปิดลำโพงคุยก็ได้ครับ แต่ที่แน่ ๆ คือเครื่องไม่ระเบิดแน่นอน

ถ่ายภาพให้ดูสวยต้องใช้กล้องพิกเซลสูง

ถ่ายรูป
ตามคอมม่อนเซ้นส์ทั่วไปเราก็คงคิดว่ากล้องมือถือที่มีพิกเซลมากย่อมถ่ายรูปคมชัดกว่ากล้องมือถือที่มีพิกเซลน้อยจริงไหมครับ ซึ่ง Frank จะมาขอเฉลยว่าความเชื่อนี้ไม่จริงเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อความคมชัดของภาพด้วย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของเลนส์ รูรับแสง หรือจะเป็นเทคโนโลยีเฉพาะต่าง ๆ ที่ค่ายโทรศัพท์ได้ใส่มา ดังนั้นหากคุณจะเลือกโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปสวย ๆ ควรดูรีวิวและหาข้อมูลจากหลาย ๆ ที่ มาประกอบการตัดสินใจ อย่าดูข้อมูลแค่จำนวนพิกเซลเพียงอย่างเดียวครับ

ใช้โทรศัพท์นาน ๆ จะทำให้สมองเสื่อม

ใช้โทรศัพท์
หลายคนคงเคยได้ยินว่าการใช้โทรศัพท์ที่ถูกต้องคือห้ามคุยโทรศัพท์นานเกินไป หรือห้ามวางโทรศัพท์ข้าง ๆ หัวนอน เพราะคลื่นไฟฟ้าจะไปรบกวนสมอง อาจทำให้สมองเสื่อมหรือเป็นมะเร็งสมองได้ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นแค่สมมุติฐานที่ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ เพราะไม่มีงานวิจัยมารองรับว่าคลื่นไฟฟ้าจากโทรศัพท์นั้นเป็นอันตรายต่อมนุษย์ คลื่นไฟฟ้าจากโทรศัพท์เป็นเพียงคลื่นอ่อนไม่มีพลังงานมากพอต่อการเกิดปฏิกิริยาในระดับเซลล์ และไม่มีความร้อนเพียงพอที่จะส่งผลต่ออุณหภูมิในร่างกาย อีกทั้งยังมีงานวิจัยอีกหลายอย่างสนับสนุนว่าคลื่นไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือไม่สร้างผลกระทบใด ๆ ต่อสมองมนุษย์อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน
คาดว่าหลายคนคงเคลียร์ข้อสงสัยเรื่องความเชื่อผิด ๆ กับการใช้โทรศัพท์มือถือกันไปแล้ว Frank หวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ และช่วยให้ทุกคนใช้โทรศัพท์ได้อย่างไม่ต้องกังวลใจนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : Sanook
                                    Dtac

veerasak p

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.