Bolttech Insurance Broker
LinePhone

ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง วิธีการปฐมพยาบาล

อาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง  ถือเป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่อาการข้อเท้าพลิกมักมาจากอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ตกบันได เดินสะดุด หกล้ม เตะบอล หรือเล่นกีฬาชนิดที่ใช้ข้อเท้า บางรายก็อาจจะบาดเจ็บเล็กน้อย แต่บางรายอาจพบว่ากระดูกข้อเท้าหัก ข้อเท้าพลิกเอ็นฉีก หากไม่รีบทำการรักษาอาจจะเป็นอันตรายต่อข้อเท้าได้ วันนี้เราเลยนำข้อมูลเกี่ยวกับ อาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง และวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มาฝากทุกคนกัน

อาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง

ข้อเท้าพลิก
อาการข้อเท้าพลิก ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางรายก็สามารถเดินได้ตามปกติ หรือบางรายก็ไม่สามารถเดินได้เลย ซึ่งอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงจะมีลักษณะตามนี้ 

  • มีอาการเจ็บปวดข้อเท้า โดยเฉพาะเวลากดหรือลงน้ำหนักลงที่ข้อเท้า
  • มีอาการข้อเท้าบวม ข้อเท้าอักเสบ 
  • มีอาการข้อเท้าฟกช้ำ หรือมีรอยช้ำเลือด
  • มีอาการข้อเท้ายึดตึง
  • มีอาการปวดเจ็บเท้ามาก ไม่สามารถเดินได้

ระดับความรุนแรงข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง

ข้อเท้าพลิก
กรณีผู้บาดเจ็บที่มีอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งทางการแพทย์ได้แบ่งระดับความรุนแรงข้อเท้าพลิก ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับที่ 1 จะมีการยืดหรือข้อเท้าพลิกเอ็นฉีกเพียงเล็กน้อย อาจจะมีอาการข้อเท้าบวมและกดเจ็บบริเวณที่ข้อเท้าพลิก แต่ยังสามารถเดินลงน้ำหนักได้ตามปกติ มักจะหายภายใน 2 สัปดาห์หลังจากเข้ารับการรักษา
  • ระดับที่ 2 มีลักษณะข้อเท้าพลิกเอ็นฉีกบางส่วน (ไม่เกินร้อยละ 50) ผู้บาดเจ็บจะเริ่มมีอาการเจ็บปวดข้อเท้ามากกว่าระดับแรก เดินลงน้ำหนักได้ไม่ค่อยดีนัก และมักจะหายภายใน 4-6 สัปดาห์หลังจากเข้ารับการรักษา
  • ระดับที่ 3 เป็นอาการรุนแรงและอันตราย เนื่องจากข้อเท้าพลิกเอ็นฉีกทั้งหมด บางรายข้อเท้าหัก มีอาการปวดเท้ามากและมีเลือดคลั่ง จะต้องรีบเข้ารับการรักษาหรือผ่าตัด 

วิธีการรักษาข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงเบื้องต้น

ข้อเท้าพลิก
หลังจากพบว่าประสบอุบัติเหตุ ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง อย่างแรกผู้บาดเจ็บจะต้องเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลข้อเท้าพลิกก่อน เพื่อจะได้รีบทำการรักษาก่อนนำส่งโรงพยาบาล ทั้งนี้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีหกล้ม แล้วข้อเท้าพลิกให้รีบทำตามขั้นตอน ดังนี้ก่อน

  • ผู้บาดเจ็บจะต้องพยายามไม่เคลื่อนไหวข้อเท้าที่พลิก เพราะเราไม่ทราบว่าข้อเท้ากระดูกหัก หรือเอ็นฉีกขาดมากน้อยแค่ไหน
  • ให้นำไม้มาวางประคบแล้วใช้ผ้าพันแทนเฝือกไปก่อน หากจำเป็นต้องเคลื่อนที่ให้ใช้เปล หรือไม้เท้าเพื่อเป็นตัวช่วยพยุงในการเดิน

ข้อเท้าพลิก

  • กรณีข้อเท้าพลิกให้ประคบด้วยน้ำเเข็ง หรือแผ่นเจลเย็นตรงบริเวณที่เกิดอาการข้อเท้าพลิก โดยประคบครั้งละ 20-30 นาที จะช่วยลดอาการเจ็บปวดหรืออาการข้อเท้าบวม (หลังจากพ้น 48 ชั่วโมงไปแล้วให้ใช้ประคบร้อนสลับกับประคบเย็นได้)
  • หาหมอนหรือเก้าอี้มาเป็นตัวช่วย เพียงนำมาหนุนขาให้สูงขึ้น จะช่วยให้อาการข้อเท้าบวมลดน้อยลง
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเจ็บข้อเท้ามาก แนะนำให้ทานยาแก้ปวดและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ไม่ควรใช้ยาหม่องหรือครีมนวด  เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและมีอาการบวม
  • หากปฐมพยาบาลข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง แต่ผู้บาดเจ็บมีอาการไม่ดีขึ้น เช่น ปวดข้อเท้ารุนแรง มีรอยเลือดฟกช้ำ หรือไม่สามารถลงน้ำหนักที่ข้อเท้าได้ เราควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็กดูอาการทันที เพราะอาจจะกระดูกหักร่วมด้วย หรือสามารถอ่าน วิธีปฐมพยาบาลกรณีกระดูกหัก เพิ่มเติมกันได้

หมายเหตุ : การใช้ผ้าพันแผลควรพันในแรงตึงที่พอดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป แล้วอย่าพันเป็นวงๆ เพราะจะทำให้ข้อเท้าบวมมากขึ้นกว่าเดิม แนะนำให้พันเป็นเลข 8 หรือพันไขว้ เพื่อประคองข้อเท้าเอาไว้ให้พอดี

การป้องกันตัวเองจากข้อเท้าพลิก

ข้อเท้าพลิก
อย่างที่รู้กันดีว่า “อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลา”  ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุภายในบ้าน หรืออุบัติเหตุนอกบ้าน เราก็สามารถป้องกันตัวเองกรณีข้อเท้าพลิกได้ ถ้าเรารู้จักวิธีป้องกันตัวเองแล้วก็จะช่วยไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บ หรือเกิดภาวะเเทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ซึ่งวิธีป้องกันตัวเองจากอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง ดังต่อไปนี้

  • ระมัดระวังตัวก่อนออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาทุกครั้ง
  • ไม่เล่นกีฬาผาดโผด หรือเสี่ยงภัย
  • สวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่เหมาะสมกับประเภทกีฬา
  • ไม่ควรวิ่ง หรือทำกิจกรรมบนพื้นผิวที่ขรุขระ
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางในที่มืด เพราะจะมองไม่เห็นทาง
  • ไม่อยู่ในบริเวณที่สูง เช่น ปีนต้นไม้ ปีนบันได เป็น
  • หากรู้สึกเมื่อย เหนื่อยล้าให้หยุดพักทันที
  • พยายามไม่ใส่รองเท้าส้นสูง เพราะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกได้ง่าย
  • บริหารกล้ามเนื้อและข้อเท้า เพื่อให้ร่างกายเเข็งแรงและให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น แต่สำหรับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกหลังจากข้อเท้า และเส้นเอ็นที่ไม่มีอาการบวม หรืออาการเจ็บปวดลดลงแล้ว สามารถบริหารกล้ามเนื้อข้อเท้าได้ แต่จะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ที่ถูกต้องเท่านั้น

ข้อเท้าพลิก
เพราะค่ารักษาพยาบาลไม่ใช่น้อยๆ เราอย่าลืมซื้อประกันอุบัติเหตุจาก frank.co.th ให้ดูแลค่ารักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุกันด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง จากอุบัติเหตุ ประกันก็จะเข้ามาช่วยจ่ายให้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่ายเองกว่า 400 แห่งในโรงพยาบาล และยังคุ้มครองทั่วโลกตลอด 24 ชม. อุ่นใจกันไปเลย แต่เราอย่าลืมอ่านเงื่อนไขความคุ้มครองก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุนะ เพื่อให้ได้แผนความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ และเหมาะกับไลฟสไตล์ของคุณที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : bangpakokhospital.com
                                   siphhospital.com
ประกันอุบัติเหตุ

Sleeping Blogger

Content Writer ผู้ที่รักงานเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ชอบเล่าเรื่อง แชร์ความรู้ใหม่ๆ หรือไอเดียง่ายๆ ที่เป็นสไตล์ของตัวเอง อยากให้เพื่อนๆ สนุกไปด้วยกัน!

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.