Bolttech Insurance Broker
LinePhone

สรุปงานแก้ปัญหาจราจรของพ่อ (ร.9) ที่เราไม่รู้มาก่อน

อ่านเร็วๆ

  • สรุปโครงการพระราชดำริของพ่อเกี่ยวกับการแก้ปัญหาจราจรที่เราไม่เคยรู้มาก่อนแต่แต่ปี 2520 จนถึงโครงการสุดท้าย
  • พ่อเริ่มมองเห็นปัญหาและหาทางแก้ให้พวกเราล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อ 40 ปีก่อนโดยเริ่มจากโครงการถนนรอบบางกระเจ้าจนถึงการแก้ปัญหาจราจรรอบถนนศิริราช
  • ถนนวงแหวนรอบนอกหรือถนนกาญจนาภิเษกคือ พระราชดำริของพ่อที่ต้องการให้ลูกๆ ได้รับประโยชน์มากกว่าการสร้างอนุเสาวรีย์ให้พระองค์ท่าน
  • การสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมจากพระราชดำริของพ่อเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากท่าเรือกรุงเทพต่อเนื่องไปถึงจังหวัดสมุทรปราการบรรเทารถติดจากรถบรรทุก
  • สะพานพระราม 8 เป็นอีก 1 ในโครการพระราชดำริของพ่อเพื่อเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งธนบุรีและฝั่งพระนครช่าวยลดปัญหารถติดอย่างมากบนสะพานพระปิ่นเกล้า
  • แก้ปัญหาจราจรรอบถนนศิริราชตามแนวพระราชดำริของพ่อด้วยการขยายสะพานอรุณอัมรินทร์และสะพานข้ามแยกศิริราชเพื่อแก้ปัญหารถติดจากผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลศิริราชและประชาชนในระแวกนั้น

 
เดืือนนี้เป็นโอกาสสุดท้ายสำหรับทุกคนแล้วนะครับในการเข้ากราบพระบรมศพของพ่อ ร.9 ที่พระบรมหาราชวัง ใครยังไม่ได้ไปก็รีบหน่อยนะครับ และด้วยความคิดถึงพ่อที่อยุ่ในใจ Frank ตลอดเวลาเลยอยากเขียนบทความเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพ่อ ที่ท่านทรงงานเพื่อพวกเราล่วงหน้ามากว่า 40 ปีเกี่ยวกับการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพที่บางโครงการไม่รู้มาก่อนเลยครับว่าเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพ่อหลวงของเรา คิดดูแล้วพวกเราโชคดีมากนะครับที่เกิดมาบนแผ่นดินไทยที่มีกษัตริย์ที่ทรงงานเพื่อพวกเรามาโดยตลอด 50 ปีและเวลานี้ก็ถึงเวลาที่เราต้องสานต่องานที่พ่อทำและเล่าเรื่องราวต่อไปยังลูกหลานเพื่อให้พวกเขารู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทยกันครับ
Timeline-แก้ปัญหา-จราจร-ของพ่อ-ร.9
 

โครงการพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาจราจรของพ่อ

Frank อยากให้เรารู้ที่มาของโครงการพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาที่ว่านี้กันก่อนนะครับ ว่าพ่อของเราได้มองเห็นอะไรก่อนที่ท่านจะพระราชทานแนวคิดในการแก้ปัญหาให้พวกเราตามลำดับเหตุการณ์เพื่อให้เห็นพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการแก้ปัญหาอย่างนักปราชญ์ที่ Frank ขอชื่นชมอย่างสุดหัวใจที่มีการค้นคว้าข้อมูลอย่างฉลาด วางแผนที่สามารถทำได้จริง และทรงอธิบายแนวคิดด้วยภาษาที่ข้าราชบริพารอย่างเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและรู้สึกทึ่งกับแนวความคิดของพระองค์ท่านที่แสนจะเรียบง่ายแต่แก้ปัญหาได้จริงกันครับ
นอกจากการอ่านในรูปแบบของ Blog แล้วเพื่อนๆ สามารถฟังได้จากหนังสือเสียงของ facebook  page สานต่อที่พ่อทำ เพิ่มเติมได้ด้วยนะครับ เป็นโครงการอ่านหนังสือเสียงที่มีชื่อว่า “The Visionary ถอดรหัสกษัตริย์ผู้มองเห็นอนาคต” ซึ่งเป็นของล้ำค่าที่พ่อมอบไว้ให้พวกเราเลยล่ะครับ


 

ปี 2514 ทรงวางศิลาฤกษ์ถนนรัชดาภิเษก

ถือเป็นโครงการแก้ปัญหาจราจรโครงการอันดับแรกและเป็นถนนวงแหวนแห่งแรกของเราที่พระองค์ท่านที่มีที่ที่มาอย่างซาบซึ้งใจ Frank ที่สุดครับ เพราะที่จริงแล้วโครงการนี้จะเป็นการสร้างอนุเสาวรีย์ถวายท่านเนื่องในโอกาสที่พระองค์ท่านทรงครองราชย์ครบ 25 ปี แต่พระองค์ท่านได้ตรัสกับคณะที่ถวายงานว่า  
“ขอเถิด อนุสาวรีย์อย่าเพิ่งสร้าง สร้างถนนดีกว่า สร้างถนนเรียกว่าวงแหวน เพราะมันเป็นความฝัน เป็นความฝันมาตั้งนานแล้ว เกือบ 40 ปี อยากสร้างถนนวงแหวน...”
เพื่อนๆ ครับพวกเราช่างโชคคีเหลือเกินครับที่ได้เกิดเป็นประชาชนของพระองค์ท่าน และด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดโครงการแก้ปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพฯ-ธนบุรีขึ้นเป็นโครงการแรกในปี พ.ศ. 2514 เพื่อพระราชทานเป็นของขวัญให้กับประชาชนแทนการสร้างพระบรมราชนุสาวรีย์เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษกที่เป็นชื่อของถนนเส้นนี้ครับ
ในหลวง-ร.9-เสด็จวางศิลาฤกษ์-ถนน-กาญจนาภิเษก

พระองค์ท่านและสมเด็จพระราชินีทรงวางศิลาฤกษ์ถนนรัชดาภิเษกเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2514   

ถนนเส้นนี้เป็นถนนวงแหวนที่มีถนนเก่าบางช่วงเชื่อนต่ออยู่ด้วยมีความยาว 45 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ ถนนวงศ์สว่างและเชื่อมต่อถนนต่างจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์และยังเป็นที่มีของโครงการสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีที่ขนานคู่ไปกับถนนบรมราชชนนีซึ่งมีที่มาจากในช่วงที่สมเด็จย่าทรงประชวรและทรงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้ง เมื่อพระองค์ท่านเสด็จไปทรงเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอได้ทรงทอดพระเนตรเห็นปัญหารถติดครั้งละนานมากๆ จึงได้ทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาจราจรนี้เพื่อบรรเทารถติดจากย่านฝั่งธนและถนนย่านชานเมืองซึ่งก็คือถนนบรมราชชนนีที่ว่าครับ
 

ปี 2020 กระเพาะหมู “บางกระเจ้า”

โครงการถัดมาที่ Frank อยากแนะนำให้รู้จักเป็นโครงการที่การเป็นกระแสการท่องเที่ยวแบบฮิปส์เตอร์ในปัจจุบันนั่นก็คือ สวนสาธารณะที่อยู่ใกล้กรุงเทพที่กลายเป็นปอดให้พวกเราในปัจจุบันนั่ก็คือ โครงการปรับปรุงสาวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ ศรีนครเขื่อนขันธ์ และพื้นที่บริเวณกระเพาะหมู อ.บางกระเจ้า จ.สมุทรปราการ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจราจรทางอ้อมแต่แก้ปัญหาเรื่องระบบนิเวศโดยตรงให้กับชาวกรุงเทพครับ
โครงการ-พระราชดำริ-บางกระเจ้า
ที่มาของโครงการนี้เกิดจากวิสัยทัศน์พระองค์ท่านในขณะที่ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่สีเขียวที่แสนอุดมสมบูรณ์ที่อยู่ใกล้กรุงเทพในขณะที่พระองค์ทรงประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งผ่านบางกระเจ้า ในปีพ.ศ. 2520 ซึ่งคาดเดาว่ามาจากคำว่า “กะเจ้า” ที่หมายถึงนกกระยางอาศัยอยู่เยอะ แล้วทรงมีพระราชดำรัสว่าสมควรสงวนพื้นที่นี้ไว้เป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นปอดให้กรุงเทพ พื้นที่นี้จึงได้อยู่ภายใต้การดูแลของ “สวนกลางมหานคร” ในปี พ.ศ. 2534 ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบนมราชกุมารีได้ทรงให้ความสนพระทัยและเสด็จเยี่ยมพื้นที่นี้ และเมื่อสร้างเสร็จก็โปรดฯ ให้สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ มาทอดพระเนตร พร้อมกับฝากพระราชดำริมาด้วยว่า
“...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องการให้มาขี่จักรยานชมสวน เพราะทราบว่าสวนศรีนครเขื่อนขันธ์นี้มีเส้นทางจักรยานสวยงามและชมทัศนียภาพตามร่องสวนชาวบ้านเป็นระยะทางยาว ตั้งใจจะมาเยี่ยมสวนศรีฯ โดยเฉพาะขี่จักรยานพายเรือคะยัก และชมหอดูนก...”
และที่น่าสนใจที่สุดคือ บางกระเจ้าได้รับยกย่องให้เป็นปอดกลางเมืองทีดีที่สุดในเอเชีย (The Best Urban Oasis) จากนิตยาสาร Time ในปี 2549 ที่ผ่านมาด้วยนะครับ
 

ปี 2521 เริ่มสร้างถนนวงแหวนรอบนอก (ถ.รัชดาภิเษก)

หลังจากนั้นก็ได้เริ่มก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกขึ้น เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางกลางเมืองเข้าด้วยกันตามหลักการของ Free Way ในต่างประเทศที่พระองค์ท่านได้นำมาเป็นแบบอย่าง โดยที่รถทุกคันไม่จำเป็นต้องขับรถผ่านกลางเมืองเสมอไปอีกแล้ว และพระองค์ท่านยังมองว่าการแก้ปัญหาจราจรนั้นต้องทำเป็นระบบจึงควรมีเส้นทางอื่นมาเชื่อมโยงกันให้เกิดโครงข่ายของเส้นทางเพื่อให้เดินทางได้สะดวกจากจุดใดก็ได้โดยเฉพาะในกรุงเทพและแถบปริมณฑล ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ Mega Project ในระยะยาวอีก 20 ปีถัดต่อมาเลยครับ
ถนนกาญจาภิเษก
 

ปี 2536 ถ.รัชดาภิเษกสร้างเสร็จ

และในปีพ.ศ. 2536 ถนนวงแหวงที่สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านก็แล้วเสร็จ เพื่อแก้ปัญหาจราจรที่แสนจะแออัดและมีรถติดอย่างหนาแน่นกลางกรุงเทพ เริ่มโครงการตำรวจจราจรตามพระราชดำริที่ใช้มอร์เตอร์ไซต์เป็นพาหนะในการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์เป็นชุดเคลื่อนที่เร็ว ช่วยเหลือประชาชนในงานช่างได้เมื่อเกิดเหตุการณ์รถเสีย หรือเมื่อต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างการคลอดลูกบนรถโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้รับการอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี หากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อเบอร์สายด่วน 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลยนะครับ  


นอกจากนั้นแล้วยังเริ่มสร้างถนนสุทธาวาสเพื่อระบายรถจากถ.จรัญสนิทวงศ์ โดยพระองค์ท่านได้สังเกตปัญหาจราจรที่ติดขัดเมื่อตอนที่พระองค์เสด็จเยี่ยมสมเด็จย่าตอนที่ท่านประทับที่โรงพยาบาลศิริราชในช่วงนั้น
ถนนสุทธาวาส
และยังเป็นช่วงที่เริ่มสร้างถนนหยดน้ำหรือการขยายพื้นผิวจราจรหน้ากรมประชาสัมพันธ์ เพื่อแก้ปัญหาคอขวดตรงสะพานพระปิ่นเกล้าเพื่อแก้ปัญหาจราจรจากสะพานพระปิ่นเกล้าเกล้าเพื่อไปยังถนนราชดำเนินกลางที่ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 1 ปีก็แล้วเสร็จ
ถนนหยดน้ำ
 

ปี 2537 ขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

และในปีนี้เองพะรองค์ท่านก็ยังโปรดให้มีการขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศเพื่อเพิ่มช่องทางจราจรไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดขึ้นในการเดินทางบริเวณถนนราชดำเนิน โดยพระองค์พระราชทานพระราชดำริสรุปความว่า สะพานแห่งนี้คือมรดกที่มีคุณค่าทางศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ของชาวไทย ที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็น "โบราณสถานของชาติ" กรุงเทพมหานครจึงต้องพิจารณาวิธีการในการแก้ไขปัญหาอย่างละเอียดรอบคอบเป็นพิเศษ
ทรงกำชับให้ระมัดระวังในเรื่องการอนุรักษ์รูปแบบประติมากรรมให้เหมือนเดิมด้วยมิใช่มุ่งแต่ขยายผิวการจราจรเพื่อแก้ปัญหาจราจรเพียงอย่างเดียว และได้พระราชทานแนวคิดในการแก้ไขแบบแปลนที่จะปรับปรุงและขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศ โดยให้ขยายผิวถนนออกไปทั้ง 2 ช่องจราจรมีความยาวประมาณ 25 เมตรเลยล่ะครับ
ถนนผ่านฟ้าลีลาส
 

ปี 2538 สร้างถนนวงแหวงอุตสาหกรรม (สะพานภูมิพล 1 และ 2)

เป็นถนนวงแหวนเส้นที่ 3 ที่พรงองค์ทรงวางแนวทางไว้เพื่อให้รถบรรทุกเดินทางขนส่งจากท่าเรือคลองเตยไปยังในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดข้างเคียงโดยไม่ต้องขับรถเข้าเมืองเป็นสะพานขึงด้วยสายเคเบิลแบบสมมาตร มีความยาวตามวงแหวน 25 กิโลเมตร มีทั้งหมด 7 ช่องทางจราจร สะพานมีความสูงจากระดับน้ำ 54 เมตร เพื่อให้เรือขนส่งสินค้านั้นสามารถผ่านได้ ซึ่งนอกจากแก้ปัญหาจราจร ลดเวลาในการขนส่งให้รวดเร็วมากขึ้นแล้วยังได้สวนสาธารณะบริเวณใต้สะพานเพื่อทุกๆ คนที่อยู่บริเวณข้างเคียงด้วย
ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
ในปีพระองค์ท่านยังให้แนวคิดการทำฟลัดเวย์ และแนวคิดแก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วย เพราะ “น้ำ” ถือเป็นสิ่งที่มีค่าของประเทศเราแต่เราก็ยังคงเจอปัญหาจากน้ำกันอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะน้ำแล้งในบางปี หรือในช่วงหลังๆ ที่เราเจอปัญหาน้ำท่วมกันเกือบทั่วประเทศ พระองค์จึงทรงจัดทำโครงการจัดการน้ำเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของน้ำขึ้น
แนวคิดฟลัดเวย์นั้นคือการจัดสรรพื้นที่ที่สามารถเป็นทางผ่านของน้ำซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อกันได้ตลอดแนวเมื่อตอนที่มีน้ำมากเกิดความต้องการจนกระทั่งกลายเป็นท่วมเราก็สามารถใช้เส้นทางนี้ในการผันน้ำตามเส้นทางออกไปจนออกทะเลได้ แต่โครงการนี้ยังไม่ประสบผลสำเร็จทั้งประเทศนะครับ เพราะยังมีปัญหาจากทั้งการเวนคืนที่ดินและการรุกล้ำที่ดินที่เตรียมไว้ทำฟลัดเวย์เองด้วย ตัวอย่างเดียวในประเทศไทยที่เราสมควรได้เห็นความสำเร็จกันคือ “สะพานระบายน้ำ” ที่แก้ปัญหาจราจรของน้ำอยู่ที่จังหสวัดสมุทรปราการลงสู่อ่าวไทยที่ อ.คลองด่านที่เป็นฟลัดเวย์จากสนามบินสุวรรณภูมินั่นเองครับ
ฟลัดเวย์-1
ฟลัดเวย์-2
ส่วนแนวคิดแก้มลิงนั้นเป็นการเก็บน้ำที่มีมากเกินไปในบางช่วงไว้แล้วค่อยๆ ระบายน้ำออกมาใช้ตอนที่น้ำขาดแคลนตามนิสัยของลิงที่เก็บกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มเมื่อตอนที่มีอาหารเยอะ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ โครงการแก้มลิงทุ่งมะขามหย่อง จ.อยุธยาครับ
แก้มลิง
 

ปี 2539 ขยายผิวจราจรรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อีกหนึ่งจุดรถติตมากบนถนนราชดำเนิน คือ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งแต่ก่อนนั้นมีช่องทางจราจรแค่ 3 ช่องทาง แล้วพระองค์ท่านก็ได้มีพระราชดำรัสให้ลดขนาดของอนุสาวรีย์ลงด้านละ 1 เมตรทำให้ช่องทางจราจรเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ช่องทางเพื่อการจราจรที่สะดวกมากขึ้นในปัจจุบันนี้ครับ
ขยายช่องทาง-อนุสาวรีย์-ประชาธิปไตย
นอกจากนั้นเรื่องของการสร้างถนนสายรองบนถนนระราม 9 ก็เป็นพระองค์ท่านอีกเช่นเดียวกันที่ทรงมองเห็นปัญหาการจราจรที่ติดขัดเป็นอย่างมากของถนนพระราม 9 ในตอนนั้น จนถึงขั้นทรงมีพระราชดำริอย่างติดตลกว่า
"ถนนที่แน่นที่สุดคือถนน...น่าเสียใจนะ...ถนนชื่อพระราม 9 เราคือพระราม 9 ก็แย่ พระราม 9 มีแฟนมาก เมื่อมีแฟนมาก ถนนก็เต็ม แล้วเราก็แก้ไข"
ซึ่งนี่คือที่มาของถนนสายรองพระราม 9 ที่พวกเราบางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน Frank เองก็เพิ่งรู้ความจริงตอนหาข้อมูลเพื่อเขียนบทความให้เพื่อนๆ นี่ล่ะครับ พวกเรานี่โชคดีจริงงๆ เลยนะครับ
โครงการ-เชื่อมต่อ-ช่องทาง-ถนนพระราม-9-ตามพระราชดำริ
โครงการ-ถนนสายรอง-พระราม-9-ตามพระราชดำริ
 

ปี 2541 เปิดใช้ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี

หลังจากทรงมีพระดำเริิ่มก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และแล้วก็เสร็จเรียบร้อยในปี 2541 เพื่อแก้ปัญหาจราจรที่ติดขัดบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้าจากพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า
“... หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้ จะมีประโยชน์มาก ....”
ในที่สุดพวกเราก็ได้ใช้ทางคู่ขนานนี้กันแล้วครับ สารภาพว่าครั้งแรกที่ใช้ทาง ยังอดคิดในใจว่าดีจังที่มีทางคู่ขนานนี้ ไม่งั้นกว่าจะไปถึงสายใต้ต้องรถติดมากแน่ๆ เลย
ถนนคู่ขนานบรมราชชนนี-ตามพระราชดำริ
 

ปี 2545 เปิดใช้สะพานพระราม 8

สะพานที่มีที่มาจากชั้น 6 โรงพยาบาลศิริราช ตอนที่พระองค์เสด็จเยี่ยมสมเด็จย่าที่โรงพยาบาลศิริราชอีกเช่นเดียวกันครับ โดนสะพานนี้สร้างในช่วงความกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ 300 เมตรจึงเป็นสะพานแขวนที่ไม่เปลืองพิืนที่ก่อสร้างตอม่อสะพานเพื่อให้เรือบรรทุกยังคงสัญจรไปมาได้ สะพานนี้นอกจากช่วยแก้ปัญหาจราจรแล้วในปัจจุบันยังกลายเป็นอีกหนึ่งที่มท่องเที่ยวในกรุงเทพไปแล้วด้วยครับ ใครอยากเต้นแอโรบิครอที่ใต้สะพานได้เลยนะครับ
สะพานพระราม-8
 

ปี 2550 ถนนวงแหวนรอบนอก หรือถนนกาญจนภิเษก  สร้างเสร็จ

ถนนเส้นนี้คือ ถนนเส้นโปรดของ Frank เลยครับนอกจากไม่ต้องเข้าเมืองเวลาเดินทางแล้วยังเชื่อมต่อไปได้หลายจังหวัดเลยด้วยนะครับ เป็นถนนวงแหวนเส้นที่ 2 ที่อยู่ใน Mega Project ของพระองค์ท่านเพื่อทำให้การเดินทางรอบนอกเมืองสะดวกมากขึ้นเยอะ นอกจากแก้ปัญหาจราจรได้แล้วยังทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองออกไปยังชาญเมืองด้วย ยืนยันอีกครั้งว่าถนนเส้นนี้ขับเพลินจริงๆ นะครับ
ถนนกาญนาภิเษก
 

ปี 2553 ถนนวงแหวนอุตสาหกรรมสร้างเสร็จ

หลังจากที่พระองค์ท่านมีพระราชดำริถนนวงแหวนเส้น 3 ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็น “ถนนลัด” ให้รถบรรทุกแล้ว ก้ได้มีการเรียกชื่อตามชนิดการใช้งานว่า ถนนวงแหวนอุตสาหกรรมที่รวมสะพานภูมิพล 1 และ 2 ไว้ด้วยกันที่ทำให้การเดินทางไปสมุทรปราการง่ายขึ้นและประหยัดเวลาไปได้เยอะมากเลยครับ นอกจากกนี้ยังเป็นช่วงเวลาในการเชื่อมต่อถนนวงแหวนทั้ง 3 เส้นเข้าด้วยกัน ทำให้ Mega Project ของพระองค์ท่านเสร็จสมบรูณ์ ทั้งหมดก็เพื่อประชาชนของพระองค์ท่านทั้งนั้นเลยนะครับ  
ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม-สะพานภูมิพล-1-2
 

ปี 2554 รับสั่งให้แก้ปัญหาจราจรรอบถนนศิริราช   

งานแก้ปัญหาสุดท้ายตามแนวพระราชดำริที่ Frank จะพูดถึงคือ การแก้ปัญหาจราจรรอบโรงพยาบาลศิริราชที่ถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากทางคู่ขนานบรมราชชนนีและสะพานพระราม 8 เพราะโรงพยาบาลเองก็มีผู้ป่วยมาใช้บริการเป็นจำนวนมากยังไม่รวมประชาชนที่เดินทางในระแวกนั้นด้วยทำให้เกิดปัญหารถติดสะสมเป็นที่สุด โดยมีพระดำริใช้พื้นที่ของโรงพยาบาล การรถไฟ และกองทัพเรือมาร่วมกันแก้ปัญหา  
โดยการการเพิ่มโครงข่ายถนนที่เชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจราจร บริเวณแยกอรุณอัมรินทร์ แยกศิริราช แยกพรานนก สามแยกไฟฉาย และทางแยกอื่นๆ ที่ต่อเนื่องกันและลดจุดตัดและทางแยกสัญญาณไฟจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนรัชดาภิเษก ซึ่งทำให้ถนนวงแหวนรัชดาภิเษกฝั่งธนบุรีเดินทางได้สะดวกขึ้นด้วย
พระองค์ท่านยังทรงซักถามเกี่ยวกับการจัดทำระบบรถไฟฟ้าบริเวณโดยรอบโรงพยาบาลศิริราชรวมทั้งทรงซักถามเกี่ยวกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไปในส่วนภูมิภาคต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศใจความตอนหนึ่งว่า
      "ที่จริงรถไฟนี้จะได้ประโยชน์มาก เพราะว่าดีกว่าการคมนาคมทางถนน ทางถนนมันแพงมาก รถไฟจะถูกลงไปมาก ดีสำหรับการเศรษฐกิจของไทยถ้าทำได้สำเร็จโดยเร็ว"
การแก้ปัญหาจราจร-รอบโรงพยาบาลศิริราช-ตามพระราชดำริ
 
อ่านแล้ว Frank รู้สึกรักพระองค์ท่านมากขึ้นเรื่อยๆ เลยครับ เพราะท่านทรงห่วยใยพวกเราไว้ล่วงหน้าเลย ยังทรงคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุนระบบคมนาคมให้พวกเราอีกต่างหาก ก็ได้แต่หวังว่าแนวพระราชดำริเหล่านี้จะกลายเป็นความจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เราออกเดินทาง ของให้เราระลึกไว้เสมอนะครับว่า พ่อทรงทำเพื่อพวกเราไว้อย่างไรและเราจะตอบแทนพ่อด้วยการสานต่อโครงการทั้งหลายที่พ่อทำไว้อย่างไรบ้าง
 
กราบแทบฝ่าพระบาทส่งเวสด็จสู่สวรรคาลัย
ร่วมถวายความอาลัยแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
Frank Insurance Broker (Thailand) Co., Ltd.
 
Credit: http://www.posttoday.com, https://www.facebook.com, http://www.chaipat.or.thl, https://www.pttep.com, http://203.155.220.238/dpw/index.php, http://www.manpattanalibrary.com, https://www.loveisan.com/, http://mediastudio.co.th, http://203.155.220.238/dpw/index.php, https://www.home.co.th, http://www.thaihealth.or.th, https://www.thetrippacker.com, http://thinkofliving.com, http://www.manpattanalibrary.com, http://www.manager.co.th, https://www.facebook.com/fulfillingfatherslegacy/
 
 

frank.co.th

เชื่อมต่อ กับพวกเรา

รับข่าวสารล่าสุดและข้อเสนอโดยติดตามเราในช่องโปรดของคุณ
LineFacebook
Bolttech
บริษัท โบลท์เทค อินชัวร์นส์ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
ใบอนุญาตินายหน้าประกันภัยหมายเลข
00017/2559
หมายเลขจดทะเบียนนิติบุคคล
0105559056161
รับรองความปลอดภัย และ อยู่ภายใต้ความควบคุม ของ
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
Security & Compliances
GeoTrustDBDOffice of Insurance Commission
bolttech © 2021 All Rights Reserved.